วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

อีสารฟู๊ดบล็อก esan food สูตร เมนู และวิธีทำอาหารอีสาน แนะนำร้านอาหารอีสารสุดแซบ

สวัสดีครับ พูดถึงอาหารการกินในเมื่องไทยนั้นๆ มีมากมายหลายอย่างเลยที่เดียว และอาหารเหล่านั้นก็แบ่งออกไปตามพื้นที่ตามภาคต่างๆ ของเมื่องไทย ไม่ว่าจะเป็นพื่นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคกลาง หรือภาคอีกสาร วัตถุดิบก็แต่ต่างกันไปตามพื้นที่ และสภาพสิ่งแวดล้อม สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองหลายสายไหลผ่าน จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวชั้นเลิศแห่งหนึ่งของโลก ชีวิตคนไทยในอดีตล้วนผูกพันกับสายน้ำ อีกทั้งยังมีชายฝั่งทะเลเหยียดยาวทั้งด้านอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน อันเป็นแหล่งอาหารประเภทปลานานาชนิด ซึ่งเป็นที่มาของคำพังเพยเปรียบเปรยถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารการกินของไทยว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" เมื่อสังคมไทยเริ่มติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านอาหารการกิน โดยได้รับรูปแบบอาหารบางชนิดมาปรับปรุง ดัดแปลงเป็นรสชาติแบบไทย ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่ ๆ มากมาย กลายเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศเนื่องจากเป็นคนชอบกิน

วัฒนธรรมการกินของคนไทยเรา มีพัฒนาการยืนยาวมานานมาก และอย่างไรก็ตามก็กรรมวิธีการปรุงอายุที่สืบทอดกันมา ก็หนีไม่พ้น "ต้ม ยำ ตำ แกง" อันเป็นวลีติดปากของคนไทยทั่วไป

อาหารประเภท ต้ม:
     ต้มเป็นกรรมวิธีการปรุงอาหารให้สุก โดยปรุงในน้ำเดือด ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และนำมาปรับประยุกต์ให้กับเครื่องปรุงพื้นบ้าน ที่ให้รสชาติหลากหลาย เช่น ต้มจืดวุ้นแส้น, ต้มจืดตำลึง ที่ให้รสชาติจืด หรือต้มยำ ต้มโคล้งที่ให้รสชาติเปรี้ยว เค็ม เผ็ด รวมทั้งบางอย่างก็เพิ่มกะทิเพิ่มความมัน เข้มข้น เช่น ต้มข่าไก่

อาหารประเภท ยำ:
    กรรมวิธีที่ใช้เครื่องพริก คละเคล้ากับเนื้อสัตว์ หรือผลไม้ ใช้มะนาว เกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู เป็นตัวเชื่อมความกลมกล่อม เช่น ยำเนื้อ, ยำปลาดุกฟู, ยำสมุนไพร หรือพล่า ที่นำน้ำพริกเผามาผสมผสาน

อาหารประเภท ตำ:
    วิธีพื้นฐานในการปรุงอาหาร โดยการตำ หรือโขลกให้ละเอียด แล้วคละเคล้ากันในเครื่องครัวที่มีลักษณะเฉพาะ เรียกว่า "ครก" สำหรับคนไทยทุกภาค "น้ำพริก" นับเป็นอาหารหลักที่ใช้เทคนิคการตำ แล้วนำไปปรับประยุกต์ให้มีรสชาติแตกต่างกันไปในแต่ละภาค เช่น ส้มตำ, ตำแตงกวา, ตำผลไม้, น้ำพริกกุ้งเสียบ, น้ำพริกอ่อง เป็นต้น

อาหารประเภท แกง:
    การนำน้ำพริกที่ผ่านการตำ มาผสมกับน้ำให้มีปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม แล้วนำไปใช้ความร้อนเพื่อให้เกิดเป็นอาหารอีกประเภท ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น แกงส้ม, แกงหน่อไม้, แกงไตปลา เป็นต้น


นอกจากนี้วัฒนธรรมการกินของไทยยังแฝงไปด้วยยภูมิปัญญาที่สร้างสมหลายๆ ชั่วอายุคน คนไทยกินข้าวกับ “กับข้าว ” ที่ปรุงจากพืชผัก เนื้อสัตว์นานาชนิดจากธรรมชาติรอบตัว ด้วยวิธีการที่บรรพบุรุษได้ทดลอง คัดเลือก และผสมผสานไว้อย่างเหมาะสม สืบทอดกันมานาน ทำให้อาหารไทยมีความ หลากหลาย สัมพันธ์กับทรัพยากร สภาพภูมิประเทศ และหลักโภชนาการของคนไทย ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยที่อาจจำแนกได้ดังนี้

- ภูมิปัญญาแห่งผลสำเร็จในการทำความเข้าใจวัฏจักรธรรมชาติ จึงสร้างสรรค์อาหารไทย ให้ มีส่วนประกอบที่สัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ มีลักษณะที่ลื่นไหล สามารถสับเปลี่ยนผัก เนื้อสัตว์มาปรุงได้ตามฤดูกาลและสภาพพันธุ์พืชในพื้นถิ่น ซึ่งมีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า สามารถนำมาปรุงอาหารได้ทุกส่วนทั้งใบ ดอก ราก หัว ผล

- ภูมิปัญญาแห่งผลสำเร็จในการเรียนรู้คุณค่าพืชพรรณ เนื้อสัตว์ จึงสร้างสรรค์อาหารไทย ให้มีคุณค่าสอดคล้องกับความต้องการร่างกายคนไทย เป็นประโยชน์ในทางบำรุง ป้องกันโรค

- ภูมิปัญญาแห่งผลสำเร็จในการแปรรูปอาหาร เพื่อถนอมรักษาให้เก็บไว้บริโภคยาวนาน ก่อให้เกิดอาหารหลายชนิด

ส่วนตัวขอเจ้าของ Blog เองเป็นคนอีสาร เลยมีเรื่องอาหารที่ชื่นชอบมาฝากเพื่อนๆ หลายครั้งที่ได้ทำเมนูแปลก และอาหารแปลกๆ หลายอย่างที่หลายคมไม่คิดว่าจะมีคนกินได้ (แต่ไม่ถึงกำแปลกมากนะครับเอาแบบคนเขารับได้กัน) โดยเฉพาะอาหารอีสาร ที่หลายคน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าได้เคยผ่านลื้นของทางมาแล้วอย่างแน่นอน อย่างเช่น ส้มตำปูปลาล้า อาหารอีกสารมีหลายหลายรูปแบบทั้ง ปิ่ง ย่าง ลาบ แกง ผัดเผ็ด ทุกคนจะได้เรียนรู้การทำอาหาร จากสูตรเพาะตัวของเจ้าของ blog เอง ซึ่งจะอร่อยไหมนั้น ก็ไม่ทราบ แต่ก็ขอบอกว่า หากได้ลองทำตามแล้วจะติดใจ ในบทความหน้าคงได้เริ่ม นำสูตรอาหารมาแบ่งปันให้เพื่อได้ลองฝีมือกันต่อไปนะครับ ขอให้เซบและสนุกกับการอ่านบทความกากๆ นี้นะครับ เดียวเจอกันสวัสดี

1 ความคิดเห็น:

  1. ช่วยพิจารณาเข้าร่วมกับ มายเทสประเทศไทย ด้วยนะครับ เพื่อแบ่งปันสูตรอาหารดีกับผู้ใช้ทั่วไปครับ เพียงคลิกที่นี้ http://www.mytastethailand.com/khaoruem-top-food-blog และใส่ที่อยู่บล็อกและอีเมลเท่านั้นครับ รับรองไม่มีค่าใช่จ่ายและข้อผูกมัดแต่อย่างใด

    ตอบลบ