วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

"พริก" มีดีมากกว่าที่คุณเห็น

      ความเผ็ด เป็นอีกรสชาติที่ขาดไม่ได้ในอาหารหลายๆ จาน และความเผ็ดนั้น ส่วนใหญ่ก็จะได้มาจาก “พริก” (Chile) ไม่ว่าจะเป็นพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกหยวก ฯลฯ ซึ่งพริกแต่ละชนิดก็จะให้ระดับความเผ็ดที่แตกต่างกันไป
     
       นอกจากจะให้ความเผ็ดแล้ว “พริก” ก็ยังมีคุณค่าทางอาหาร และสรรพคุณที่มากกว่าการช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหารจานต่างๆ อีกด้วย เริ่มจากประการแรก พริกมีวิตามินสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็ก มีกรดแอสคอร์บิค ที่จะช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหาร เพื่อให้ดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่ายของเสีย และนำธาตุอาหารต่างๆ ไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย
     
       พริกช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก ช่วยละลายเสมหะที่เหนียวข้นให้จางลง ช่วยให้ขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น พริกช่วยให้หลอดลมขยายตัวได้ดี ไม่หดเกร็ง ฉะนั้นคนที่เป็นหอบหืดหรือภูมิแพ้ หากบริโภคพริกไปแล้วจะดีมาก

    
       ในพริกยังพบสารแคปไซซิน ที่ทำให้เกิดความเผ็ดในพริก ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่างๆ ของร่างกาย และช่วยบรรเทาอาหารปวดและแสบร้อนจากการอักเสบตามที่ต่างๆ เช่น โรคเริม งูสวัด ปวดอักเสบตามข้อจากรูมาตอยด์ ข้อเสื่อม และอาการปวดฟกช้ำทั้งหลาย
     
       พริกช่วยเพิ่มสารแห่งความสุข หรือเอ็นโดรฟิน สังเกตได้จากหลังกินอาหารเผ็ดๆ แล้วเหงื่อออก จะรู้สึกสดชื่นสบายตัวมากขึ้น มีชีวิตชีวามากขึ้น และความเผ็ดจากพริกก็ยังช่วยเรียกน้ำย่อย ช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้นอีกด้วย

       ทั้งนี้ การบริโภคพริกเข้าไป หรือการกินเผ็ดก็ควรจะอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่กินเผ็ดมากเกินไปจนกลายเป้นโรคกระเพาะ และต้องกินพริกให้ถูกจังหวะเวลา ไม่กินเผ็ดจัดในขณะที่ท้องว่าง หากทำได้อย่างนี้แล้วก็จะได้รับประโยชน์จากพริกไปแบบเต็มๆ

มาดูประโยชน์ของพริก 36 ประการ
1. พริก มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอวัย
2. ช่วยให้อารมณ์ดี ทำให้ร่างกายสร้างสาร Endorphin (สารแห่งความสุข)
3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
4. วิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกาย
5. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
6. ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น
7. สารแคปไซซินช่วยให้เกิดอาการตื่นตัวของร่างกาย
8. ช่วยในการดีท็อกซ์ของร่างกาย
9. พริกช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ
10. ช่วยบรรเทาอาการไอ
11. ช่วยลดสารที่มากีดขวางระบบทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากการเป็นไข้หวัด ไซนัสหรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ
12. ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
13. ช่วยให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
14. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และความเผ็ดของพริกมีส่วนช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้
15. ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระเลือดลดลง
16. ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน
17. พริกช่วยในการสลายลิ่มเลือด
18. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
19. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดให้ดียิ่งขึ้น
20. ช่วยลดความดันโลหิต
21. ช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือด
22. ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น
23. สาร Capsaicin ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
24. ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อในร่างกาย
25. ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ขับแก๊สในกระเพาะ
26. มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
27. ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆในบริเวณจมูก ลำคอ ปอด เยื่อบุผนังช่องปาก
28. ช่วยไม่ให้เมือกเสียๆ มาจับตัวกันภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย
29. สรรพคุณพริกช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ เช่น อาการปวดฟัน เจ็บคอ การอักเสบของผิวหนัง อาการปวดศีรษะ ปวดเส้นเอ็น โรคเกาต์ ข้อต่ออักเสบ เป็นต้น
30. พริกช่วยกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้น
31. ใช้ในการประกอบอาหาร ปรุงแต่งอาหาร
32. นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก เครื่องแกง น้ำพริกต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค
33. รวมไปถึงอาวุธป้องกันตัวอย่างสเปรย์พริกไทย (ไม่ถือว่าเป็นอาวุธร้ายแรง)
34. ในด้านการแพทย์แผนจีนนำสารนี้มาใช้ประโยชน์เพื่อบำรุงพลังหยาง
35. ในด้านการแพทย์ได้มีการสกัดเอาสารแคปไซซินในพริกออกมาในรูปแบบครีมหรือเจล ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ผิวหนัง เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก งูสวัด เป็นต้น
36. ในด้านความงามจะใช้สารสกัดจากแคปไซซินมาสกัดเป็นเจลเพื่อใช้ในการนวดลดเซลลูไลท์ สลายไขมัน

ขอบคุณข้อมูล manager online, http://en.wikipedia.org/wiki/Chili_pepper

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น