สูตรการทำ ลาบปลาดุก ง่ายๆ แต่ได้ประโยชน์

อีกหนึ่งเมนูแซบๆสไสล์อีสานบ้านเฮาวันนี้ นั่นก็คือ ลาบปลาดุกย่างนั้นเอง จะแซบๆเหาะขนาดไหน

ลาบเป็ดสูตรอีสาร หลายคนไม่ควรพลาด

ฟังดูแล้วชวนนำลานไหล ความเหมาะสม ทำเป็นกับแก้มก็ดีแต่ให้เพิ่มรสชาติ

อีสารฟู๊ดบล็อก esan food สูตร เมนู และวิธีทำอาหารอีสาน แนะนำร้านอาหารอีสารสุดแซบ

พูดถึงอาหารการกินในเมื่องไทยนั้นๆ มีมากมายหลายอย่างเลยที่เดียว และอาหารเหล่านั้นก็แบ่งออกไปตามพื้นที่ตามภาคต่างๆ

ปลาร้า หรือ ปลาแดก อาหารพื้นบ้านที่อยู่คู่ครัวคนอีกสารตลอดมา

ปลาร้าหรือปลาแดก หรือ ปลาแดก ปลาน้อย ในภาษาอีสาน เป็นอาหารท้องถิ่นภาคอีสานของไทย มักจะทำจากปลาน้ำจืดมีทั้งปลาขนาดเล็กและปลาขนาดใหญ่

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

หมูต้มใบมะขาม

สำหรับช่วงหน้าแล้งที่มะนาวนั้นแพงแสนแพง ก็ต้องหาวัตถุดิบอื่นๆ ที่มีรสชาติความเปรี้ยวมาทดแทนมะนาว เพื่อช่วยลดต้นทุนในการทำอาหาร ซึ่ง “ครัววันหยุด” ในครั้งนี้ก็ขอเสนอ “ใบมะขามอ่อน” หรือ “ยอดมะขาม” ที่มีรสชาติเปรี้ยวอยู่แล้วตามธรรมชาติ แถมยังมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ โดยคนสมัยก่อนก็ได้ใช้ใบมะขามอ่อนนี้มาปรุงเป็นอาหารกันมาเนิ่นนานแล้ว
      
และสำหรับครัววันหยุดในครั้งนี้ เมื่อได้วัตถุดิบอย่างใบมะขามอ่อนมาแล้ว จึงขอเสนอเป็นเมนู “หมูต้มใบมะขาม” เมนูทำง่ายๆ รสชาติอร่อย กินกันได้ทั้งครอบครัว
      
ส่วนผสม
  1. ซี่โครงอ่อน 300 กรัม
  2. น้ำเปล่า 5 ถ้วย
  3. ใบมะขามอ่อน 1 ถ้วย
  4. มะเขือเทศท้อ 1 ลูก
  5. หอมแดง 3 หัวโตๆ
  6. พริกขี้หนูสวนสีเขียวแดงปนกัน 15 เม็ด
  7. น้ำตาลปี๊บ 1/4 ชช.
  8. เกลือป่น 1 ชช.
  9. น้ำปลา 2 ชต.
  10. น้ำมะนาว 1 - 1.5 ชต.      
วิธีทำ
ก่อนอื่นมาดูซี่โครงหมูกันก่อนนะครับ  คือปกติซี่โครงหมูหรือกระดูกหมูเนี่ย มันก็จะมีประมาณ  3 - 4 แบบ  แบบแรกที่บ้านพิมเรียกกระดูกเก๊  ก็จะเป็นกระดูกที่เค้าเอามาต้มน้ำซุปครับ  แต่ภาษาตามเขียงหมูนี่พิมไม่แน่ใจว่าเค้าเรียกว่าอะไรนะครับ  ราคาตอนนี้ประมาณกิโลละ 60-65  ต่อมาก็เป็นซี่โครงธรรมดาครับ  ที่มีกระดูกเยอะ เนื้อน้อยหน่อย ราคาใกล้เคียงกับเนื้อหมูคือประมาณโลละ 130-140  บาท  ต่อมาก็เป็นซี่โครงอ่อนที่มีหน้าตาประมาณในภาพด้านล่างนี้อ่ะครับ  จะเป็นซี่โครงที่กระดูกไม่แข็งมากและมีเนื้อเยอะ ราคาจะสูงกว่าเนื้อหมู/ซี่โครงธรรมดานิดหน่อย  อย่างที่พิมซื้อมาวันนี้ก็โลละ 170 บาทครับ  และอีกอย่างคือซี่โครงส่วนที่เค้าเรียกว่าใบพาย  ซึ่งพิมมักเรียกติดปากว่ากระดูกแก้ว  จะราคาประมาณเดียวกับซี่โครงอ่อนหรืออาจจะสูงกว่านิดหน่อยครับ



สำหรับซี่โครงหมูที่พิมเลือกมาใช้ในวันนี้  (จริง ๆ ไม่ใช่เลือกหรอกครับ ไฟล์ทบังคับต่างหาก เพราะมีอยู่แล้ว หุหุ)  ก็จะเป็นซี่โครงส่วนที่เรียกว่า "ซี่โครงอ่อน" ครับ   ก็นำมาสับไว้เป็นชิ้นใหญ่หน่อยนะครับ   ประมาณสัก 1.5 * 1.5 นิ้ว หรืออาจจะกว้างยาวกว่านี้เล็กน้อยก็ได้ ไม่มีปัญหา  สับเสร็จก็นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วก็ใส่ตะกร้าโปร่งพักไว้ให้แห้งครับ 

ต่อมาก็เป็นพระเอกของเราในวันนี้นะครับ  (หรือจะนางเอกดีน้อออ) นั่นก็คือ ใบมะขามอ่อน    ทำการล้างน้ำเอาเศษฝุ่นเศษผงออก แล้วก็ใส่ตะกร้าพักไว้ให้สะเด็ดน้ำเช่นกันครับ

หอมแดง  ก็ปอกเปลือก ล้างน้ำ ซับด้วยผ้าให้แห้ง ทุบพอแตก

ส่วนพริกขี้หนูสวนก็ล้างน้ำ เด็ดขั้วออกแล้วทุบพอแตก / มะเขือเทศก็ผ่าเป็น  4 ส่วน หรือ 6 ส่วน ตามขนาดลูกนะครับ   (อันนี้ไม่มีภาพนะครับ ลืมถ่ายมาก ^^")

เมื่อเตรียมเครื่องเสร็จ ก็มาลงมือทำกันเลยดีกว่าครับ แบบว่าเริ่มหิวแล้วเน๊าะ ก็เอาน้ำเปล่าที่เตรียมไว้ใส่ในหม้อใบย่อม ๆ นะครับ  เอาหม้อตั้งเตาเปิดไฟกลาง พอน้ำเดือดจัดก็ใส่ซี่โครงอ่อนลงไป

สักพักจะเห็นว่ามีฟองขาว ๆ ลอยอยู่บริเวณผิวน้ำเต็มไปหมด  เราก็ค่อย ๆ เอาทัพพีช้อนฟองขาว ๆ นั้นออกนะครับ 

พอช้อนหมดหรือให้เหลือน้อยที่สุด ก็หรี่ไฟลงเป็นไฟอ่อน  ให้แค่น้ำเดือดปุดๆ   ปิดฝาหม้อ  แล้วเคี่ยวกระดูกหมูไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเปื่อยนุ่มตามต้องการ    ซึ่งพิมก็เคี่ยวไปประมาณ 40 นาทีนะครับ

พอครบ 40 นาที  ก็เปิดฝาหม้อ ใส่หอมแดง  น้ำตาล น้ำปลา และก็เกลือป่นลงไปครับ  ต้มต่อประมาณ 5 นาที

ก็เปิดฝาหม้อออกมา ใส่มะเขือเทศและใบมะขามอ่อน  ลงไป  ปิดฝาหม้ออีกครั้ง ตั้งให้เดือดอีกครั้งนึง ก็ปิดไฟเตาได้เลยครับ

แล้วก็ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว กับพริกขี้หนูสวน   แล้วชิมรสให้ออกเปรี้ยวนำ เผ็ดตามนิดๆ  เค็มตามชอบ  หากขาดรสไหนไปก็เติมเพิ่มเอานะครับ   เพราะว่าปริมาณน้ำซุปที่เหลือในหม้อหลังจากซี่โครงหมูเปื่อยแล้วของพิมกับเพื่อนๆ อาจจะไม่เท่ากัน  ดังนั้นรสชาติเมื่อปรุงตามสูตรอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยครับ

สุดท้ายก็ตักใส่ชามเสริฟแบบร้อน ๆ  แค่นี้เราก็จะได้  "ซี่โครงหมูต้มใบมะขามอ่อน"  ที่เมื่อแค่ได้ชิมสักคำสองคำก็อาจจะหยุดทานไม่ได้ล่ะครับ

ซึ่งในปีนี้เนี่ยอากาศเมืองไทยค่อนข้างหนาว (แต่คาดว่าเมืองอื่นน่าจะหนาวกว่าเยอะเน๊าะ )  หากเพื่อนๆ อยากซดอะไรที่ร้อน ๆ เปรี้ยวนิด ๆ เผ็ดหน่อย ๆ ซดแล้วให้ความรู้สึกสดชื่น และหาใบมะขามอ่อนได้ พิมก็ขอแนะนำเมนูนี้เลยครับ 

และสำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่ทานหมู ไม่ชอบทานหมู อาจจะเปลี่ยนเป็นไก่ธรรมดา ไก่บ้าน หรือว่าปลา เช่น ปลาจีน  ปลากะพง  ปลาหมอ  ปลานิลแทนก็ได้นะครับ    อร่อยได้เหมือนกัน  แต่หากเป็นปลา พิมมักจะลวกน้ำครั้งนึง เพื่อล้างคาวออกก่อนแล้วค่อยนำมาต้มอ่ะครับ

นอกจากความอร่อยแล้ว  ใบมะขามอ่อนก็ยังมีสรรพคุณช่วยในเรื่องของการขับถ่าย ขับลม เป็นยาระบายอีกด้วย. ดังนั้นทานเมนูนี้ มีแต่ประโยชน์ซะเป็นส่วนใหญ่นะครับ  ยังไงก็ไปลองทำทานกันดูครับ     

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

มหัศจรรย์แห่ง “ผักบุ้ง”

หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่ากิน “ผักบุ้ง” (Convolvulaceae) แล้วทำให้ตาหวาน ตาสวยได้ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้กล่าวเกินจริงเลย เพราะว่าผักบุ้งมีสารที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นวิตามิน A ที่เรียกว่า เบต้า-แคโรทีนเยอะมาก แล้ววิตามิน A นี้เองเป็นสารที่ช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยงให้ตาเป็นประกาย ไม่แสบ ไม่แห้ง แล้วยังมีสรรพคุณแก้ตาฟางหรือตาบอดกลางคืนได้ ช่วยให้หายแสบตาจากอาการตาแห้ง และลดอาการปวดกระบอกตาในกรณีที่ใช้สายตาเยอะ ๆ และอยากจะบอกอีกว่าผักบุ้งไมได้มีแต่วิตามิน A เท่านั้น ยังมีวิตามิน C ด้วย แต่ถ้าอยากได้วิตามิน C จากผักบุ้ง ก็ต้องกินผักบุ้งดิบ ทั้งวิตามิน A และวิตามิน C รวมถึงเบต้า-แคโรทีน เป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันมะเร็งได้ด้วย



ประโยชน์ของผักบุ้ง
  1.     ประโยชน์ของผักบุ้งข้อแรกคือมีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล
  2.     มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัยความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  3.     มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้
  4.     ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อยๆ
  5.     ช่วยบำรุงธาตุ
  6.     สรรพคุณของผักบุ้งต้นสดของผักบุ้งใช้เป็นยาดับร้อน แก้อาการร้อนใน
  7.     ต้นสดของผักบุ้งช่วยในการบำรุงโลหิต
  8.     ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
  9.     ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท
  10.     ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมาก (รากผังบุ้ง)
  11.     มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  12.     ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
  13.     ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  14.     ช่วยแก้อาการเหงือกบวม
  15.     ช่วยรักษาแผลร้อนในในปาก ด้วยการนำผักบุ้งสดมาผสมเกลืออมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง
  16.     ฟันเป็นรูปวด ให้ใช้รากสด 120 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู คั้นเอาน้ำมาบ้วนปาก
  17.     ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง (รากของผังบุ้ง)
  18.     แก้เลือดกำเดาไหลออกมากผิดปกติ ด้วยการใช้ต้นสดมาตำผสมน้ำตาลทรายแล้วนำมาชงน้ำร้อนดื่ม
  19.     ใช้แก้โรคหืด (รากของผังบุ้ง)
  20.     ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
  21.     ช่วยป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารจากผลของยาแอสไพริน
  22.     ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  23.     ยอดผักบุ้งมีส่วนช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ
  24.     ช่วยทำความสะอาดของเสียที่ตกค้างในลำไส้
  25.     ผักบุ้งจีนมีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลือง
  26.     ช่วยแก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
  27.     ช่วยแก้หนองใน ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
  28.     ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นสด 1 กิโล / น้ำ 1 ลิตร นำมาต้มให้เละเอากากทิ้งแล้วใส่นำตาลทรายขาว 120 กรัม แล้วเคี่ยวจนข้นหนืด ทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  29.     ช่วยแก้อาการตกขาวมากของสตรี (รากของผังบุ้ง)
  30.     ผักบุ้งรสเย็นมีสรรพคุณช่วยถอนพิษเบื่อเมา
  31.     รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนมีสรรพคุณช่วยถอนพิษสำแดง
  32.     ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร
  33.     ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  34.     ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ผังบุ้งไทยต้นขาว)
  35.     ดอกของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน
  36.     ใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ผังบุ้งไทยต้นขาว)
  37.     แก้แผลมีหนองช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนานๆ ทิ้งไว้พออุ่นแล้วเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง
  38.     ช่วยแก้พิษตะขาบกัด ด้วยการใช้ต้นสดเติมเกลือนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด
  39.     ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  40.     ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยลดการอักเสบ อาการปวดบวม
  41.     ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
  42.     ใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด หรือผู้ที่ได้รับสารพิษต่างๆเช่น เกษตรกร เป็นต้น
  43.     นำมาใช้ในการประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะสุก ผัก แกง ดอง ได้หมด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ส้มตำ แกงส้ม แกงเทโพ ยําผักบุ้งกรอบ เป็นต้น
  44.     ผักบุ้งนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เหมือนกัน เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น (มีหลายคนเข้าใจผิดว่ากระต่ายชอบกินผักบุ้ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เพราะผักบุ้งมียาง ยกเว้นกระต่ายโตถ้าจะให้กินไม่ควรให้บ่อยและให้ทีละนิด)
  45.     ผักบุ้ง ประโยชน์ ข้อสุดท้ายนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผักบุ้งแคปซูล ผงผักบุ้ง เป็นต้น
ผักบุ้งยังมีเกลือแร่ มีธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงเลือด อีกทั้งแคลเซียม และฟอสฟอรัสที่ช่วยบำรุงกระดูก รวมถึงมีเส้นใยอาหารช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย และในผักบุ้งมีสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลินที่สามารถลดน้ำตาลใน กระแสเลือดสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน และผักบุ้งเป็นผักที่มีฤทธิ์เย็นจึงช่วยบรรเทาอาการร้อนในได้ และประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของผักบุ้งที่ไม่ค่อยมีใครรู้ก็คือ ผักบุ้งเป็นหนึ่งในตำรายาไทย คือถือเป็นยาเย็นแก้ถอนพิษเมื่อเมาอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

"พริก" มีดีมากกว่าที่คุณเห็น

      ความเผ็ด เป็นอีกรสชาติที่ขาดไม่ได้ในอาหารหลายๆ จาน และความเผ็ดนั้น ส่วนใหญ่ก็จะได้มาจาก “พริก” (Chile) ไม่ว่าจะเป็นพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกหยวก ฯลฯ ซึ่งพริกแต่ละชนิดก็จะให้ระดับความเผ็ดที่แตกต่างกันไป
     
       นอกจากจะให้ความเผ็ดแล้ว “พริก” ก็ยังมีคุณค่าทางอาหาร และสรรพคุณที่มากกว่าการช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหารจานต่างๆ อีกด้วย เริ่มจากประการแรก พริกมีวิตามินสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็ก มีกรดแอสคอร์บิค ที่จะช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหาร เพื่อให้ดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่ายของเสีย และนำธาตุอาหารต่างๆ ไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย
     
       พริกช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก ช่วยละลายเสมหะที่เหนียวข้นให้จางลง ช่วยให้ขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น พริกช่วยให้หลอดลมขยายตัวได้ดี ไม่หดเกร็ง ฉะนั้นคนที่เป็นหอบหืดหรือภูมิแพ้ หากบริโภคพริกไปแล้วจะดีมาก

    
       ในพริกยังพบสารแคปไซซิน ที่ทำให้เกิดความเผ็ดในพริก ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่างๆ ของร่างกาย และช่วยบรรเทาอาหารปวดและแสบร้อนจากการอักเสบตามที่ต่างๆ เช่น โรคเริม งูสวัด ปวดอักเสบตามข้อจากรูมาตอยด์ ข้อเสื่อม และอาการปวดฟกช้ำทั้งหลาย
     
       พริกช่วยเพิ่มสารแห่งความสุข หรือเอ็นโดรฟิน สังเกตได้จากหลังกินอาหารเผ็ดๆ แล้วเหงื่อออก จะรู้สึกสดชื่นสบายตัวมากขึ้น มีชีวิตชีวามากขึ้น และความเผ็ดจากพริกก็ยังช่วยเรียกน้ำย่อย ช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้นอีกด้วย

       ทั้งนี้ การบริโภคพริกเข้าไป หรือการกินเผ็ดก็ควรจะอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่กินเผ็ดมากเกินไปจนกลายเป้นโรคกระเพาะ และต้องกินพริกให้ถูกจังหวะเวลา ไม่กินเผ็ดจัดในขณะที่ท้องว่าง หากทำได้อย่างนี้แล้วก็จะได้รับประโยชน์จากพริกไปแบบเต็มๆ

มาดูประโยชน์ของพริก 36 ประการ
1. พริก มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอวัย
2. ช่วยให้อารมณ์ดี ทำให้ร่างกายสร้างสาร Endorphin (สารแห่งความสุข)
3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
4. วิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกาย
5. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
6. ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น
7. สารแคปไซซินช่วยให้เกิดอาการตื่นตัวของร่างกาย
8. ช่วยในการดีท็อกซ์ของร่างกาย
9. พริกช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ
10. ช่วยบรรเทาอาการไอ
11. ช่วยลดสารที่มากีดขวางระบบทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากการเป็นไข้หวัด ไซนัสหรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ
12. ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
13. ช่วยให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
14. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และความเผ็ดของพริกมีส่วนช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้
15. ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระเลือดลดลง
16. ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน
17. พริกช่วยในการสลายลิ่มเลือด
18. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
19. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดให้ดียิ่งขึ้น
20. ช่วยลดความดันโลหิต
21. ช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือด
22. ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น
23. สาร Capsaicin ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
24. ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อในร่างกาย
25. ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ขับแก๊สในกระเพาะ
26. มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
27. ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆในบริเวณจมูก ลำคอ ปอด เยื่อบุผนังช่องปาก
28. ช่วยไม่ให้เมือกเสียๆ มาจับตัวกันภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย
29. สรรพคุณพริกช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ เช่น อาการปวดฟัน เจ็บคอ การอักเสบของผิวหนัง อาการปวดศีรษะ ปวดเส้นเอ็น โรคเกาต์ ข้อต่ออักเสบ เป็นต้น
30. พริกช่วยกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้น
31. ใช้ในการประกอบอาหาร ปรุงแต่งอาหาร
32. นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก เครื่องแกง น้ำพริกต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค
33. รวมไปถึงอาวุธป้องกันตัวอย่างสเปรย์พริกไทย (ไม่ถือว่าเป็นอาวุธร้ายแรง)
34. ในด้านการแพทย์แผนจีนนำสารนี้มาใช้ประโยชน์เพื่อบำรุงพลังหยาง
35. ในด้านการแพทย์ได้มีการสกัดเอาสารแคปไซซินในพริกออกมาในรูปแบบครีมหรือเจล ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ผิวหนัง เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก งูสวัด เป็นต้น
36. ในด้านความงามจะใช้สารสกัดจากแคปไซซินมาสกัดเป็นเจลเพื่อใช้ในการนวดลดเซลลูไลท์ สลายไขมัน

ขอบคุณข้อมูล manager online, http://en.wikipedia.org/wiki/Chili_pepper

ยำก้านคะน้าคอหมูย่าง พอกะเทิน

สำหรับคนที่มีแผนจะจัดปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงในเวลาอันใกล้นี้ผมก็มีเมนูกับแกล้มรสชาติจี๊ดจ๊าดมานำเสนอ เมนูนี้มีชื่อว่า “ยำก้านคะน้าคอหมูย่าง” เป็นเมนูที่ผสมผสานความสดกรอบของก้านคะน้า มารวมกับความนุ่มกลมกล่อมของคอหมูที่ย่างมาสุกกำลังดี คลุกเคล้ากับน้ำยำรสแซ่บ กินแล้วอร่อยเพลินลืมอิ่มเลยทีเดียว
     
ส่วนผสมมีดังนี้
      - ก้านคะน้า 300 กรัม
      - คอหมูย่าง 200 กรัม
      - พริกขี้หนูซอย 4-5 เม็ด
      - กระเทียมซอย (กระเทียมจีน) 7-8 กลีบ
      - น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
      - น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
      - น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ

ขั้นตอนปรุงอาหาร
ในขั้นตอนการเตรียมผักและคอหมูสำหรับเมนูนี้ ขอเน้นนะครับให้ทำความสะอาดก่อน ซึ่งตัวผมเองแล้วเมื่อทำอาหารทุกครั้งเรื่องนี้จะคำนึงถึงเป็นอันดับแรกเลย มาเริ่มกันเลยเครับสำหรับ ยำก้านคะน้าคอหมูย่าง

      1. เริ่มทำโดยการเตรียมคอหมูย่างก่อน ใช้เนื้อหมูส่วนคอ 200 กรัม นำมาหมักกับน้ำตาลทรายประมาณ 1 ช้อนชา น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ และซีอิ้วขาว 1 ช้อนโต๊ะ หมักทิ้งไว้ 1/2-1 ชั่วโมง แล้วนำไปย่างให้สุก หรือหากไม่มีเวลา สามารถซื้อคอหมูย่างตามร้านส้มตำมาใช้ได้เลย
     
      2. ส่วนก้านคะน้า ให้เลือกซื้อคะน้าต้นอวบๆ ใบแข็งๆ มา จากนั้นหั่นเอาเฉพาะส่วนที่เป็นก้าน ปอกเปลือกสีเขียวด้านนอกออกให้เหลือแต่เนื้อสีขาวด้านใน แล้วหั่นเป็นชิ้นพอคำ ล้างน้ำให้สะอาด
     
       3. ขั้นตอนการทำเริ่มจากลวกก้านคะน้าในน้ำเดือดที่ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย พอก้านคะน้าสุกดีแล้วให้ตักขึ้นแช่ลงในน้ำเย็นที่ใส่น้ำแข็งเพื่อหยุดความสุกของก้านคะน้า จะทำให้ก้านคะน้ากรอบและไม่ขม แช่ไว้สักพักแล้วตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ
     
      4. จากนั้นหันมาปรุงน้ำยำโดยใส่น้ำตาลทราย น้ำปลา และน้ำมะนาว คนผสมกันจนน้ำตาลละลาย แล้วใส่พริกขี้หนูและกระเทียมซอยลงไป ใส่คอหมูย่างที่หั่นเป็นชิ้นพอคำไว้แล้ว ใส่ก้านคะน้าลวกสุกตามลงไป คลุกเคล้าเครื่องทั้งหมดให้เข้ากันจนทั่ว ก็สามารถตักใส่จานเสิร์ฟได้เลย

เรียบร้อยครับ เมนูน่ากินเชียว
ขอบคุณ ข้อมูลดีจาก Manager Online

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

หมูมะนาว คะน้ากรอบ นำจิ่มซีฟู๊ดสุดแซบ

สำหรับวันนี้เป็นเมนูที่ผมชอบและทำกินบ่อยๆ  เมนูหมูมะนาวหรืออีกชื่อหนึ่งอาจจะเรียกหมูสะดุ้งก็ได้ เพราะตอนลวก ลวกแค่หมูสะดุ้งจริงๆ ครับ มื้อนี้แค่หมูมะนาวจานเดียวกับผักสดเครื่องเคียงอีกจาน ก็อิ่มแปร้จนถึงเย็นแล้วครับ ขอบอกว่าแตงกวาปอกแช่เย็นกับก้านครับน้าอวบๆ ปอกแล้วแช่น้ำแข็ง หมูมะนาวคำก้านครับน้ากรอบๆ เย็นๆ คำนึง อร่อยสุดๆ ไปเลยครับ

เครื่องปรุงหมูมะนาว

1. หมูสันนอก 300 กรัม
2. พริกขี้หนูสวน 15 เม็ด
3. กระเทียมปอกเปลือก 10 กลีบ
4. กระเทียมโทนดอง 3 หัว
5. น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
7. น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
8. น้ำเปล่า 2 ถ้วย
9. ยอดคะน้า ผักสด




วิธีทำหมูมะนาว

- ล้างเนื้อหมูหั่นเป็นชิ้นบางๆ ขนาดพอคำพักไว้
- โขลกพริกชี้ฟ้า พริกขี้หนูสวน กระเทียมและกระเทียมโทนดองให้ละเอียด ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลและน้ำมะนาว ชิมรสตามชอบ เตรียมไว้ เพิ่มกระเทียมหัวใหญ่ซอยบาง ๆ ลงไป จะมีรสหวานนิด ๆ
- น้ำเปล่าใส่หม้อยกขึ้นตั้งไฟ พอน้ำเดือดจัดใส่หมูลงไปลวก ลวกเอาแค่หมูสะดุ้ง เพราะหมูบางอยู่แล้วแป๊บเดียวก็เป็นอันใช้ได้
- ตักเนื้อหมูขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ เสร็จแล้วจัดหมูใส่จาน ราดด้วยน้ำราดที่เตรียมไว้ ยกเสิร์ฟพร้อมกับผักสดตามชอบ หรือก้านครับน้าแช่น้ำแข็งก็อร่อยครับ
- ที่สำคัญการหมูมะนาว ในขั้นตอนการลอกหมู ควรทำเป็นขั้นตอนสุดท้าย กอนยกออมาตั้งโต๊ะจะได้รสที่แซบแบบสดๆ

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

สูตรไม่ลับต้มยำขาหมู

สำหรับอาหารจานนี้ช่วยสำหรับท่านที่กำลังเบื่ออาหาร วันนี้มาเลยหาเมนูที่ช่วยเจริญอาหารกันซะหน่อย เมนูต้มๆ วันนี้ของเสนอ "ต้มยำขาหมู" ซึ่งต้มยำเป็นอาหารพื้นเมืองที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะมีให้รับประทานกันแทบทุกภาคและยังเป็นอาหารที่นิยมสำหรับชาวต่างชาติอีกด้วย สำหรับต้มยำเป็นอาหารที่ครบรส คือ เค็ม เปรี้ยว เผ็ด และหวานเล็กน้อย ไปดูวิธีทำกันดีกว่า

สิ่งที่จะต้องเตรียมส่วนผสมวัตถุดิบและเครื่องปรุง  สูตรต้มยำขาหมู

    1. ขาหมู 500 กรัม
    2. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
    3. น้ำตาล 1 ช้อนชา
    4. เห็ดฟางหั่น 200 กรัม
    5. พริกขี้หนูทุบ 5 เม็ด
    6. ซีอิ้วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
    7. ตะไคร้ทุบหั่น 2 ต้น
    8. น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
    9. ใบมะกรูดฉีก 6 ใบ
    10. ผักชีซอย 3 ต้น
    11. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
    12. ข่าหั่น 5 แว่น
    13. ผักชีฝรั่งหั่น 3 ต้น

วิธีทำและเคล็ดลับขั้นตอนในการทำ  สูตรต้มยำขาหมู
    1. ลำดับแรกให้นำขาหมูมาล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด จากนั้นให้ดึงเศษขนที่ติดมาออกให้หมด หั่นเป็นชิ้นๆพอประมาณ พักไว้ก่อน
    2. จากนั้นเตรียมตั้งหม้อโดยเอาน้ำใส่หม้อใส่เกลือ ตามด้วยใบมะกรูด ตะไคร้ และข่า ลงไปโดยให้ใช้ไฟอ่อนถึงปานกลางต้มให้เดือด
    3. ขั้นตอนต่อไปให้นำเอาขาหมูใส่ลงไป พอเริ่มเดือดให้หรี่ไฟลงนิดหน่อย ใส่เห็ดฟางลงไป ต้มต่อไปเรื่อยๆ จนขาหมูเปื่อยกำลังดี
    4. ในขั้นตอนสุดท้ายให้ใส่พริกขี้หนูทุบ ผักชีฝรั่ง ผักชีซอย และปรุงรสด้วยซีอิ๊ว น้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำตาล ทดลองชิมรสตามชอบเมื่อได้รสที่ต้องการปิดไฟยกลงตักใส่ถ้วย โรยด้วยพริกขี้หนูแห้ง พร้อมรับประทาน

 สูตรต้มยำขาหมู ที่นำมาแนะนำกันในวันนี้คงถูกใจกันนะครับ มีเกล็ดความรู้เกี่ยวกับต้มยำมาบอกเล่ากันสักเล็กน้อย สำหรับต้มยำนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันก็คือ ประเภทแรก ต้มยำน้ำใส ต้มยำน้ำใสเป็นต้นตำรับของต้มยำ เพราะอาหารไทยในอดีตนั้นมักจะไม่นิยมใส่นมหรือกะทิและมักจะปรุงอย่างง่ายๆ กล่าวคือจะไม่มีเครื่องปรุงอะไรมากมากนัก โดยต้มยำน้ำใสจะมีส่วนประกอบหลักๆก็คือ เนื้อสัตว์ และจะมีเครื่องเทศหลักๆก็คือ ข่า ใบมะกรูด ตะไคร้ พริกทั้งสดและแห้ง


ประเภทที่สอง ต้มยำน้ำข้น ต้มยำน้ำข้นถูกเข้าใจว่าเป็นต้นตำรับของต้มยำ แต่โดยแท้ที่จริงแล้ว เป็นเพียงการพัฒนามาจากต้มยำน้ำใสอีกทีหนึ่ง โดยเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 6 ช่วงที่ท่านเสด็จประพาสไปเสวยเหลาแถวสามย่าน สมัยนั้นมีเสหลาของคนจีนเข้ามาใหม่ร้านหนึ่ง เสหลาแห่งนั้นทำต้มยำกุ้งใส่นมเป็นน้ำข้น

ลาบหมูสุดแซบๆ

"ลาบหมู" เป็นอีกหนึ่งเมนูนึงที่ผมเชื่อฝีมือตัวเองว่าทำอร่อยครับ เหตุผลก็เพราะว่ามีช่วงนึงเมื่อหลายปีก่อน แม่ผมเค้าขายกับข้าวที่ตลาดแถวบ้าน แล้วหนึ่งในกับข้าวที่แม่ผมเค้าทำขายทู๊กกกวันที่ขายก็คือลาบหมู ไม่ก็น้ำตกคอหมูย่างอ่ะครับ   ซึ่งแรก ๆ แม่ผมเค้าก็ลงมือทำเองทุกอย่างตั้งแต่รวนหมู ต้มเครื่องใน  (ที่ทำขายใส่ตับ ไส้อ่อน หนังหมูด้วย)  คั่วข้าว  รวมถึงปรุงรส  ผมเองจะช่วยแค่เรื่องหั่นผัก คั้นน้ำมะนาวเท่านั้น แต่ไม่รู้ทำไปทำมาอีท่าไหน  ไปๆ มาๆ ผ่านชั่วเวลาสัก 2 เดือนกว่า กลายเป็นผมเองที่ทำหมดทุกอย่างครับ  ตั้งแต่เตรียมเครื่อง ไปจนกระทั่งถึงปรุงรสลาบ ทำไปทำมาอยู่อย่างนี้ทุกวันอาทิตย์เป็นเดือนเป็นปี ก็เลยเกิดความชำนาญประมาณนึง จนคิดว่าตัวเองทำลาบได้อร่อยพอควรครับ

เมนูอาหารยอดนิยมเมนูหนึ่งของคนไทยคิดว่าทุกคนต้องรู้จักเป็นอย่างแน่นอนนั้นก็คือสูตรอาหาร สูตรลาบหมู ที่เป็นที่ชื่นชอบและเป็นอาหารยอดนิยมของทุกคนๆ ลาบ นั้นเป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสาน (รวมไปถึงประเทศลาว) และทางภาคเหนือของประเทศไทยเรา โดยวิธีการทำนั้นจะนำเนื้อมาสับให้ละเอียดแล้วคลุกกับเครื่องปรุงต่างๆ โดยเนื้อที่จะมาทำลาบนั้นมีหลายชนิดด้วย เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อปลา เนื้อควาย เป็นต้น

ส่วนผสมวัตถุดิบและเครื่องปรุง สูตรอาหาร สูตรลาบหมู

   1. เนื้อหมูส่วนสันในสับ 2 ถ้วย
   2. หอมแดงซอย 2 ช้อนโต๊ะ
   3. น้ำมะนาว 6 ช้อนโต๊ะ
   4. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
   5. ต้นหอมหั่นท่อนสั้น 2 ช้อนโต๊ะ
   6. ตับหมูต้มหรือนึ่งสุกหั่นชิ้นบาง 100 กรัม
   7. พริกขี้หนูแห้งคั่วป่น 1/2 ช้อนชา
   8. พริกขี้หนูแห่งทอด 4 เม็ด
   9. ข้าวคั่วป่นหรือขนมปังอบป่น 2 ช้อนโต๊ะ
   10. ใบสะระแหน่ 1/2 ถ้วย
   11. ผักชีหั่น 1 ช้อนโต๊ะ
   12. ผักกาขาวสำหรับรองถ้วย
   13. ผักสด ผักชี ผักการขาว แตงกวา กะหล่ำปลี ต้นหอม ถั่วฝักยาว

วิธีและขั้นตอนในการทำ สูตอาหาร สูตรลาบหมู

   1. ขั้นตอนแรกให้ขยำหมูสับผสมกับมะนาว 4 ช้อนโต๊ะในชามที่เตรียมไว้ให้เข้ากันอย่างดี แล้วต่อไปจึงบีบเอาน้ำออกใส่ลงถ้วย จากนั้นให้เทน้ำหมูที่บีบใส่ลงในกระทะที่ได้เตรียมไว้จากนั้นให้ตั้งไฟกลางพอเดือด ตามด้วยใส่หมูสับแล้วผัดรวนพอสุกเสร็จจึงปิดไฟตักใส่ลงในอ่างผสมแล้วใส่ตับหมู ตามด้วยหอมแดง (แบ่งไว้โรยหน้าเล็กน้อย) คลุกเคล้าพอทั่ว
   2. ขั้นตอนที่สองปรุงรสด้วยน้ำมะนาวที่เหลือไว้จากขั้นตอนแรก ใส่พริกป่น ใส่น้ำปลา ใส่ขนมปังป่นหรือข้าวคั่ว แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตามด้วยใส่ใบสะระแหน่และต้นหอมผักชี คลุกเคล้าพอทั่ว
   3. ขั้นตอนสุดท้ายตักใส่ถ้วยที่เตรียมไว้แล้วรองด้วยผักกาดขาว แต่งด้วยโรยหอมแดงซอยที่แบ่งไว้ตอนแรก และพริกขี้หนูแห้งทอด วางผักสดชนิดต่างๆ



เสร็จเรียบร้อยพร้อมเสิร์ฟเป็นอย่างไรกันบ้างครับกับเมนูและอาหารยอดนิยมของคนไทยเรานั้นเอง หวังว่าคงถูกใจกันทุกคนนะครับกับ สูตรอาหาร สูตรลาบหมู เรามาดูเกล็ดความรู้ของเมนูนี้กัน ลาบอีสาน นั้นจัดเป็นลักษณะอาหารประเภทยำ ปรุงแต่งรสชาติด้วย มะนาว น้ำปลา และโรยด้วย ข้าวคั่ว (พริกผง) ใบสระแหน่ ใบมะกรูด ใบหอม

ลาบ ในอดีตทำด้วยเนื้อสัตว์ใหญ่ โดยเฉพาะ วัว และควาย ที่เป็นสัตว์สำคัญ ซึ่งโดยปกติแล้ว คนเมือง มักจะกินข้าว น้ำพริก ปลา และผักเป็นประจำทุกวัน แต่ไม่ได้กินเนื้อควาย เนื้อวัว หรือเนื้อหมูบ่อยๆ ด้วยเหตุนี้การกินลาบแต่ละครั้งจึงถือว่าเป็น "มื้อพิเศษ" หรือโอกาสพิเศษนั้นเอง

อีกทั้ง ลาบ ยังเป็นอาหารที่มีผักนานาชนิด และเครื่องเทศมากมาย เมื่อรับประทานแล้วจึงก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายหลายๆด้าน "ลาบดิบ" ใช้เนื้อดิบๆ และเลือดสดๆ มาทำดังนั้นคนเมืองเพศชายจึงถือว่า ลาบดิบ เป็นอาหารแห่งศักดิ์ศรีของพวกเขา แถมทั้งในการทำ ลาบ มีกระบวนการทำหลายขั้นตอน ใช้เวลานาน ค่อนข้างจะยุ่งยาก ส่งผลให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันทำ กลายเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งไปในตัว กับข้อมูลดีๆเกี่ยวกับลาบที่เราทุกคนชอบกินกัน บทความหน้าเราจะหาสูตรอาหารดีๆมาแนะนำกันอีกนะครับสำหรับวันนี้สวัสดีครับ